โรคซึมเศร้าทำให้ผมร่วง ผมบาง ก่อนวัยจริงไหม
“โรคซึมเศร้า” MDD (Major Depressive Disorder) เป็นกลุ่มโรคที่พบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มากที่สุด เป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่งที่มีอารมณ์เศร้าหรือทุกข์ใจจนความสุขหายไป จนทำให้ใครหลายคนเกิดคำถามขึ้มาในหัวว่า โรคซึมเศร้าทำให้ผมร่วง ผมบาง ก่อนวัยจริงไหม
โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
- โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง ตัวผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพราะลักษณะอาการจะรู้สึกเศร้า เหงาใจ หดหู่ รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ชอบทำร้ายตัวเอง และอาจจำทำให้เครียด มีผลกระทบต่อเส้นผมได้ทำให้ผมหลุดร่วงก่อนวัยดังนั้น โรคซึมเศร้าทำให้ผมร่วง เป็นไปได้
- โรคซึมเศร้าเรื้อรัง ลักษณะอาการจะไม่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง แต่แค่ระยะเวลาในการเป็นจะอยู่กับผู้ป่วยเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 1-2 ปีขึ้นไป
ลักษณะอาการโรคซึมเศร้าที่ผู้ป่วยต้องเจอมีดังนี้
- รู้สึกเศร้า หดหู่ เบื่อเศร้าใจ ท้อแท้
- รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี
- รู้สึกว่าสภาพเเวดล้อมที่มีความกดดัน
- มีความเครียดสะสม รู้สึกไร้ค่า โทษตัวเองทุกเรื่อง
- เบื่ออาหารรับประทานอาหารได้น้อย
สาเหตุโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มาจาก 2 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้
1. กรรมพันธุ์ หรือครอบครัวผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน ก็อาจส่งต่อรุ่นสู่รุ่นก็เป็นได้
2. ความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ร่างกายหลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาเพื่อทำให้เกิดโรคซึมเศร้า
แบ่งสารเคมีออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) โดพามีน (Dopamine) เป็นต้น เพราะตามปกติแล้วร่างกายคนเราจะผลิตสารเหล่านี้ออกมาอยู่แล้วตามปกติแต่จะถูกควบคุมโดยสมองของเรา เช่น ร้องให้เสียใจ เศร้า ร่างกายก็จะเริ่มผลิตสารเคมีเหล่านี้ในสมองออกมาให้ร่างกายได้รับรู้นั่นเอง แต่ถ้าเกิดสมองมีการควบคุมผิดปกติโดยการหลั่งสารต่างๆ ออกมามากเกินไปหรือน้อยเกิดไป ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ทางจิตใจตามมาได้
เมื่อเราทราบถึงสาเหตุที่มาที่ไปของโรคซึมเศร้า “คำถามโรคซึมเศร้าทำให้ผมร่วงผมบางได้หรือไม่”
ได้! เพียงส่วนหนึ่งแต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดค่ะ เมื่อร่างกายและสมองได้รับผลกระทบจากสภาพเเวดล้อมที่มีความกดดันจนทำให้เกิดความเครียด นอนไม่หลับทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ความเครียดเป็นที่มาของผมร่วงผมบาง เพราะร่างกายจะหลั่งสารบางชนิดออกมาที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เส้นผมอ่อนแอจนเกิดภาวะผมร่วงผมบางได้ แถมเจ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลยังช่วยส่งผลให้ผลิตสาร ไซโตไคน์ (Cytokine) เปลี่ยนแปลงไปจากปกติและส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงนั่นเอง
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้วกำลังรักษาอยู่ เกิดภาวะผมร่วงจากยาที่ใช้รักษาอาการโรคซึมเศร้าอันนี้ขอแนะนำให้เข้าพบคุณหมอที่ทำการรักษานะคะ เพื่อลดขนาดยาที่ใช้ในการรับประทานเพราะอาจจะเป็นอาการข้างเคียงที่อาจจะเจอได้
โรคซึมเศร้าอาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่เรารู้จักปล่อยวางไม่เครียดพยายามทำจิตใจให้ยอมรับกับสถานการณ์ต่างๆ โรคนี้รักษาให้หายขาดได้โดยเข้าพบจิตแพทย์ โรคนี้ไม่มีพิษมีภัยต่อคนรอบข้างแต่ส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลกระทบกับสภาวะจิตใจตัวบุคคลมากกว่า เมื่อยิ่งผู้ป่วยเจอภาวะผมร่วง ผมบาง อาจจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเองจนทำให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียดจนทำให้เป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมาก็ได้ แต่เมื่อรักษาอาการที่เกิดจากโรคซึมเศร้าเสร็จแล้ว เส้นผมก็ยังร่วงเยอะอยู่จนอาจจะลามไปสู่ภาวะหัวล้าน อันนี้ขอแนะนำให้เข้าพบเเพทย์เฉพาะทางเพื่อเแก้ปัญหานะคะ อย่าปล่อยทิ้งอาการเหล่านี้ไว้นานจนไม่สามารถรักษาได้นะคะ
ปรึกษาทุกปัญหาเรื่องผมได้ทุกวัน หรือนัดหมายจองคิวล่วงหน้าได้ที่ :
Line Official Account : @Hairtranclinic
Hot Line : 0619599953